Skip to main content

ภาพรวม

“กันตังย้อนวันวาน”
ทริปนี้เหมาะสำหรับผู้ที่หลงใหลในเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมท้องถิ่น และการเดินทางด้วยรถไฟสุดคลาสสิก

เริ่มต้นการเดินทางจากสถานีรถไฟ มุ่งหน้าสู่ สถานีรถไฟกันตัง สถานีเก่าแก่สีชมพูอมแดงสุดคลาสสิก หนึ่งในจุดเช็กอินยอดนิยมของนักท่องเที่ยวสายวินเทจ

หลังจากพักผ่อนจนหายเหนื่อยจากการเดินทางแล้ว แนะนำให้เดินทางไปยัง ศูนย์เรียนรู้ประวัติศาสตร์กันตัง แหล่งเรียนรู้ที่บอกเล่าเรื่องราวของเมืองกันตังตั้งแต่สมัยรุ่งเรืองด้านการค้าทางเรือ การเดินรถไฟ และบทบาทในประวัติศาสตร์ท้องถิ่น

ต่อด้วยการแวะชม ยางพาราต้นแรกในประเทศไทย ต้นไม้ประวัติศาสตร์ที่บ่งบอกถึงจุดเริ่มต้นของยุคเศรษฐกิจยางพาราไทย ชมป้ายประวัติและถ่ายภาพกับร่มเงาอันร่มรื่นของต้นยาง

วันต่อมาสามารถแวะไปที่ พิพิธภัณฑ์พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี บ้านโบราณที่ถูกดัดแปลงเป็นพิพิธภัณฑ์จัดแสดงข้าวของส่วนตัวของพระยารัษฎาฯ ผู้บุกเบิกการพัฒนาเศรษฐกิจและการคมนาคมในภาคใต้ โดยเฉพาะการนำต้นยางพาราเข้ามาปลูก

จบทริปด้วยการเดินเล่นชมเมืองกันตัง บรรยากาศเงียบสงบ อาคารเก่า ๆ และผู้คนเป็นมิตร ก่อนเดินทางกลับด้วยรถไฟ พร้อมหัวใจที่เต็มไปด้วยความรู้และความประทับใจ

Place list data
2755,1258
1256
Bangkok Weather
Location:
7.41063, 99.51439
สถานีรถไฟกันตัง
Location:
7.41063, 99.51439
สถานีรถไฟกันตัง
Location:
7.41063, 99.51439
สถานีรถไฟกันตัง
Location:
7.41063, 99.51439
สถานีรถไฟกันตัง
Location:
7.41063, 99.51439
สถานีรถไฟกันตัง

วันที่ Time slot ความคิดเห็น
อาทิตย์: 08:30-16:30
จันทร์: 08:30-16:30
อังคาร: 08:30-16:30
พุธ: 08:30-16:30
พฤหัส: 08:30-16:30
ศุกร์: 08:30-16:30
เสาร์: ปิด
คำอธิบาย
ศูนย์ประวัติศาสตร์เมืองกันตัง ณ บริเวณริมแม่น้ำตรัง แหล่งเรียนรู้ประวัติศาสตร์วิถีชีวิตชุมชนคนกันตัง ภายในอาคารมีนิทรรศการเกี่ยวกับข้อมูลทางประวัติศาสตร์และวิถีชีวิตของชาวกันตัง ความเป็นมาของเมืองท่าที่สำคัญในอดีตจนถึงปัจจุบัน

วันที่ Time slot ความคิดเห็น
อาทิตย์: เปิด 24 ช.ม.
จันทร์: เปิด 24 ช.ม.
อังคาร: เปิด 24 ช.ม.
พุธ: เปิด 24 ช.ม.
พฤหัส: เปิด 24 ช.ม.
ศุกร์: เปิด 24 ช.ม.
เสาร์: เปิด 24 ช.ม.
คำอธิบาย
ต้นยางพาราเข้ามาปลูกในประเทศไทย ตั้งแต่สมัยที่ยังใช้ชื่อว่า "สยาม" ประมาณกันว่าควรเป็นหลัง พ.ศ.2425 ซึ่งช่วงนั้น ได้มีการขยายเมล็ดกล้ายางพารา จากพันธุ์ 22 ต้น นำไปปลูกในประเทศต่าง ๆ ของทวีปเอเชีย และมีหลักฐานเด่นชัดว่า เมื่อ ปี พ.ศ.2442 พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี (คอซิมบี้ ณ ระนอง) เป็นผู้เหมือนหนึ่ง "บิดาแห่งยาง" เป็นผู้ที่ได้นำต้นยางพารามาปลูกที่อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง เป็นครั้งแรก จากนั้น พระยารัษฎานุประดิษฐ์ ได้ส่งคนไปเรียนวิธีปลูกยางเพื่อมาสอนประชาชน นักเรียนของท่านที่ส่งไปก็ล้วนแต่เป็นเจ้าเมือง นายอำเภอ กำนัน และผู้ใหญ่บ้านทั้งสิ้น พร้อมกันนั้นท่านก็สั่งให้กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน นำพันธุ์ยางไปแจกจ่าย และส่งเสริมให้ราษฎรปลูกทั่วไป ซึ่งในยุคนั้น อาจกล่าวได้ว่าเป็นยุคตื่นยาง และชาวบ้านเรียกยางพารานี้ว่า “ยางเทศา” ต่อมาราษฎรได้นำเข้ามาปลูกเป็นสวนยางมากขึ้นและได้มีการขยายพื้นที่ปลูกยางไปในจังหวัดภาคใต้รวม 14 จังหวัด ตั้งแต่ชุมพรลงไปถึงจังหวัดที่ติดชายแดนประเทศมาเลเซีย จนถึงปัจจุบันประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกยางทั้งประเทศประมาณ 12 ล้านไร่ กระจายกันอยู่ในภาคใต้ ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งเป็นแหล่งปลูกยางใหม่ การพัฒนาอุตสาหกรรมยางของประเทศได้เจริญรุดหน้าเรื่อยมาจนทำให้ประเทศไทยเป็นประเทศที่ผลิตและส่งออกยางได้มากที่สุดในโลก

วันที่ Time slot ความคิดเห็น
อาทิตย์: 08:00-16:00
จันทร์: 08:00-16:00
อังคาร: 08:00-16:00
พุธ: 08:00-16:00
พฤหัส: 08:00-16:00
ศุกร์: 08:00-16:00
เสาร์: ปิด
คำอธิบาย
“พิพิธภัณฑ์บ้านพระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี (คอซิมบี๊ ณ ระนอง)” ตั้งอยู่ที่ อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง ซึ่งพิพิธภัณฑ์จะเป็นบ้านไม้สองชั้น รายล้อมไปด้วยพันธุ์ไม้นานาชนิดและยังเคยเป็นจวนเก่าเจ้าเมืองตรัง ปัจจุบันเป็นพิพิธภัณฑ์จัดแสดงข้าวของเครื่องใช้แบบดั้งเดิมและหุ่นขี้ผึ้ง

รีวิว

ความคิดเห็นเกี่ยวกับแผนการท่องเที่ยวนี้
No review available