Skip to main content

ภาพรวม

“สองวันในอุบลฯ เรียนรู้ วิถีวัด ศิลป์”

  • เริ่มต้นการเดินทางด้วยการไปเยือน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติอุบลราชธานี สถานที่รวบรวมเรื่องราวทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของเมืองอุบลฯ ไว้อย่างน่าสนใจ ทั้งโบราณวัตถุ เครื่องใช้พื้นบ้าน และศิลปกรรมท้องถิ่นที่บอกเล่าอดีตของเมืองได้อย่างชัดเจน

  • จากนั้นไปต่อที่ ศูนย์การเรียนรู้เทียนพรรษาศรีประดู่ ชมความงดงามของศิลปะเทียนพรรษาที่วิจิตรบรรจง พร้อมเรียนรู้ขั้นตอนการทำเทียนแบบดั้งเดิม ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของชาวอุบลฯ และยังได้เห็นฝีมือของช่างท้องถิ่นที่สืบทอดภูมิปัญญามาหลายชั่วอายุคน

  • เช้าวันที่สอง แวะไปทำบุญและชมความงดงามของ วัดทุ่งศรีเมือง วัดเก่าแก่ใจกลางเมืองที่ผสมผสานระหว่างสถาปัตยกรรมไทยและลาวอย่างกลมกลืน โดยเฉพาะหอไตรกลางน้ำที่หาชมได้ยากในปัจจุบัน

  • ปิดท้ายทริปด้วยการไปสักการะ วัดใต้พระเจ้าใหญ่องค์ตื้อ วัดที่เงียบสงบและเปี่ยมด้วยศรัทธา กับองค์พระเจ้าใหญ่ที่เก่าแก่และเป็นที่เคารพของชาวอุบลราชธานี ก่อนเดินทางกลับด้วยความอิ่มเอมใจจากการได้สัมผัสเมืองที่อบอวลไปด้วยศิลปะ วัฒนธรรม และความศรัทธา

Place list data
2758,1687
1688,1689
Bangkok Weather
Location:
15.20048039, 104.8586744
สถานีรถไฟอุบลราชธานี
Location:
15.20048039, 104.8586744
สถานีรถไฟอุบลราชธานี
Location:
15.20048039, 104.8586744
สถานีรถไฟอุบลราชธานี
Location:
15.20048039, 104.8586744
สถานีรถไฟอุบลราชธานี
Location:
15.20048039, 104.8586744
สถานีรถไฟอุบลราชธานี

วันที่ Time slot ความคิดเห็น
อาทิตย์: 09:00-16:00
จันทร์: 09:00-16:00
อังคาร: 09:00-16:00
พุธ: 09:00-16:00
พฤหัส: 09:00-16:00
ศุกร์: ปิด
เสาร์: ปิด
คำอธิบาย
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อุบลราชธานี เดิมเป็นอาคารศาลากลางจังหวัด สร้างเมื่อ พ.ศ.2461 บนที่ดินซึ่งพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงสรรพสิทธิ์ประสงค์ ทรงขอมาจากทายาทของราชบุตร(สุ่ย) เพื่อใช้เป็นที่สาธารณประโยชน์ สำหรับก่อสร้างสถานที่ราชการมาตั้งแต่ครั้งรัชกาลที่ 6 อาคารเป็นตึกชั้นเดียว ก่ออิฐถือปูนยกพื้นสูง หลังคาทรงปั้นหยามุงกระเบื้องว่าว แผนผังอาคารเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าหันหน้าไปทางทิศเหนือ ภายในอาคารประกอบด้วยห้องโถงใหญ่อยู่ตรงกลาง มีระเบียงทางเดินและห้องขนาดเล็กอยู่โดยรอบ เหนือกรอบประตูและหัวเสารับชายคาที่ระเบียงมีการประดับด้วยไม้ฉลุลายพันธุ์พฤกษา อาคารได้รับรางวัลอาคารอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรมดีเด่น ประจำปี พ.ศ.2532 จากสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ และกรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนและกำหนดเขตโบราณสถาน เมื่อปี พ.ศ.2544 ภายในพิพิธภัณฑ์จัดแสดงเรื่อง ภูมิศาสตร์ ธรณีวิทยา ประวัติศาสตร์ โบราณคดี วัฒนธรรมพื้นบ้าน และชาติพันธุ์วิทยา โดยแบ่งหัวข้อเรื่องเป็น 10 ห้องจัดแสดง ได้แก่ ห้องที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของจังหวัดอุบลราชธานี ห้องที่ 2 ภูมิศาสตร์ทัพยากรธรณีวิทยาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ห้องที่ 3 สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ห้องที่ 4 วัฒนธรรมทวารวดีและวัฒนธรรมเจนละ(ขอมหรือเขมรสมัยก่อนเมืองพระนคร) ห้องที่ 5 วัฒนธรรมขอมหรือเขมรสมัยเมืองพระนคร ห้องที่ 6 วัฒนธรรมไทย-ลาว ห้องที่ 7 ผ้าโบราณและผ้าพื้นเมืองอุบลราชธานี ห้องที่ 8 ดนตรีพื้นเมือง ห้องที่ 9 ศิลปหัตถกรรมพื้นบ้านและเครื่องใช้ในครัวเรือน ห้องที่ 10 การปกครองและงานประณีตศิลป์เนื่องในพุทธศาสนา

วันที่ Time slot ความคิดเห็น
อาทิตย์: 08:30-16:00
จันทร์: 08:30-16:00
อังคาร: 08:30-16:00
พุธ: 08:30-16:00
พฤหัส: 08:30-16:00
ศุกร์: 08:30-16:00
เสาร์: ปิด
คำอธิบาย
ศูนย์การเรียนเทียนพรรษาศรีประดู่ เป็นแหล่งให้ความรู้ในด้านศิลปะการทำเทียนพรรษาประเภทติดพิมพ์ ประจำจังหวัดอุบลราชธานี โดยเปิดให้นักท่องเที่ยว และบุคคลทั่วไปเข้ามาศึกษาและเรียนรู้การทำเทียนโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย โดยผู้ปกครองสามารถพาบุตรหลานมาเรียนรู้และทดลองลงมือทำด้วยตนเองได้ ทั้งสนุก ได้ความรู้ และได้ร่วมสืบสานประเพณีอันดีงามของบรรพบุรุษ รวมถึงเป็นการปลูกฝังจิตสำนึกในการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นให้กับคนรุ่นใหม่อีกด้วย

วันที่ Time slot ความคิดเห็น
อาทิตย์: 08:00-19:00
จันทร์: 09:00-18:00
อังคาร: 09:00-18:00
พุธ: 09:00-18:00
พฤหัส: 09:00-18:00
ศุกร์: 09:00-18:00
เสาร์: 08:00-19:00
คำอธิบาย
วัดทุ่งศรีเมือง ตั้งอยู่ในตัวเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี เป็นวัดเก่าแก่ที่สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2385 ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 โดย เจ้าคุณอริยวงศาจารย์ญานวิมลอุบลสังฆปาโมกข์ (สุ้ย หลักคำ) ซึ่งเป็นเจ้าคณะเมืองอุบลราชธานีในสมัยนั้น ก่อนจะตามมาด้วยการสร้าง พระอุโบสถ หรือ หอพระพุทธบาท ขึ้นเพื่อประดิษฐานพระพุทธบาทจำลอง รวมถึงสร้าง หอพระไตรปิฎกกลางน้ำ เป็นที่เก็บรักษาพระไตรปิฎก คัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา ปรัชญาพื้นบ้าน และเอกสารสำคัญเอาไว้ อาคารที่สำคัญที่สุดในวัดทุ่งศรีเมือง คือพระอุโบสถ หรือ หอพระพุทธบาท ซึ่งสร้างขึ้นในช่วงต้นรัชกาลที่ 4 นับว่าเป็นหนึ่งในสถาปัตยกรรมยุคแรกๆ ของอีสานที่ได้รับอิทธิพลศิลปะมาจากภาคกลาง ซึ่งจะมีลักษระเป็นอาคารผนังสูง เครื่องบนเป็นเครื่องลำยอง มีช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ นาคสะดุ้ง ซึ่งต่างจาก สิม หรือ อุโบสถทางภาคอีสานไม่น้อย ด้านในเป็นที่ประดิษฐาน พระพุทธบาทจำลอง จากวัดสระเกศราชวรมหาวิหาร กรุงเทพฯ ซึ่งมีความกว้าง 6 เมตร ยาว 13 เมตร เพื่อมาให้พุทธศาสนิกชนชาวอุบลราชธานีได้สักการะกราบไหว้ นอกจากพระพุทธบาทจำลองแล้ว สิ่งที่น่าสนใจอีกอย่างหนึ่งในหอพระพุทธบาทก็คือ ภาพจิตกรรมฝาผนัง ซึ่งบอกเล่าพุทธประวัติ เรื่องเล่าในนิทานชาดก รวมถึงวิถีชีวิตของชาวบ้านถิ่นอีสาน รวมถึงผู้คนที่อาศัยในวังในสมัยรัชกาลที่ 3 อาคารบ้านเรือนที่ปรากฏบนจิตรกรรมจึงมีสถาปัตยกรรมแบบไทยผสมจีน นอกจากนี้ยังเป็นที่ประดิษฐาน พระเจ้าใหญ่องค์เงิน พระพุทธรูปปางมารวิชัย ซึ่งเป็นพระประธานภายในหอพระพุทธบาทคู่กับรอยพระพุทธบาทจำลอง ต่อมาคือ หอไตรกลางน้ำ หรือ หอพระไตรปิฎกกลางน้ำ กว้าง 8.20 เมตร ยาว 9.85 เมตร และมีความสูงจากระดับพื้นน้ำถึงยอดหลังคาประมาณ 10 เมตร ด้านสถาปัตยกรรมของหอไตรเป็นการผสมผสานระหว่างศิลปะไทย ลาว และ พม่า ตัวเรือนสร้างแบบเรือนไทยภาคกลาง ยกใต้ถุนสูง หลังคาจั่วด้วยศิลปะไทยผสมพม่า มีช่อฟ้าใบระกา นาคสะดุ้งและหางหงศ์ ส่วนลวดลายแกะสลักบนหน้าบรรณทั้ง 2 ด้านนั้นเป็นศิลปะแบบลาว ซึ่งเป็นฝีมือช่างหลวงจากเวียงจันทน์ ทำให้ในปัจจุบัน หอไตรแห่งนี้มีความสมบูรณ์และงดงามมากที่สุดแห่งหนึ่งในภาคอีสานเลยทีเดียว

วันที่ Time slot ความคิดเห็น
อาทิตย์: 08:00-19:00
จันทร์: 09:00-18:00
อังคาร: 09:00-18:00
พุธ: 09:00-18:00
พฤหัส: 09:00-18:00
ศุกร์: 09:00-18:00
เสาร์: 08:00-19:00
คำอธิบาย
วัดพระเจ้าใหญ่องค์ตื้อ หรือ วัดใต้เทิง เป็นวัดราษฎร์ ตั้งอยู่ที่ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี ใกล้ริมฝั่งแม่น้ำมูล วัดนี้เป็นที่ประดิษฐาน พระพุทธรูปเก่าแก่ นามว่า "พระเจ้าใหญ่องค์ตื้อ" ถือว่าเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวอุบลฯ นับถือกันอย่างมาก พระเจ้าใหญ่องค์ตื้อ นั้นจะเป็นเนื้อทองเก้าสัมฤทธิ์ ปางวิชัย หน้าตักกว้าง 51 นิ้ว สูง 85 นิ้ว ได้รับการยกย่องว่าเป็น พระพุทธรูปที่งดงามในประเทศไทยและภาคอีสาน สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช อย่างไรก็ตาม พระเจ้าใหญ่องค์ตื้อ นั้นมีอยู่ 5 องค์ อยู่ในไทย 4 องค์ คือที่ วัดปากแซง อำเภอนาตาล จังหวัดอุบลราชธานี วัดสีชมพู จังหวัดหนองคาย วัดสวนดอก จังหวัดเชียงใหม่ และที่วัดนี้ ส่วนอีกองค์อยู่ที่ประเทศลาว ซึ่งจมีลักษณะจะคล้ายกันมาก นอกจากจะมีพระเจ้าใหญ่องค์ตื้อแล้ว ที่นี่ก็ยังมีพระพุทธรูปปางยืนห้ามสมุทรถึง 4 องค์ รวมทั้งพระพุทธรูปเจตมนเพลิง องค์ตื้อ (สีดำสนิท) เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ให้นักท่องเที่ยวได้สักการะขอพร โดยทุกๆ วันที่ 1 ถึง 5 เดือนมีนาคมของทุกปี ทางวัดจะมีการจัดงานเทศกาลอัญเชิญพระพุทธรูปเจตมุนเพลิงองค์ตื้อ เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้นมัสการสรงน้ำตลอด 5 วัน 5 คืน

รีวิว

ความคิดเห็นเกี่ยวกับแผนการท่องเที่ยวนี้
No review available